ภาษาถิ่นภาษาญี่ปุ่น สำเนียงคิวชู

เช่นเดียวกับประเทศอื่น ญี่ปุ่นมีภาษาถิ่นมากมาย หนึ่งในนั้นคือสำเนียงคิวชู หากจะรวมสำเนียงคิวชูเข้าด้วยกันทั้งหมด ก็จะเป็นการยากซักหน่อย แต่สามารถรวมคำแต่ละท้องถิ่นคิวชูให้อยู่ในระบบเดียวกันได้ คิวชูประกอบด้วยจังหวัด 9 จังหวัดตามตัวอักษร แต่ละจังหวัดก็มีภาษาถิ่นของตัวเอง ภายในจังหวัดยังแบ่งเป็นหลายๆภาษาถิ่นอีก โดยระบบแบ่งเขตสมัยก่อน (ฮัน) จะดูมีอิทธิพลมากกว่าระบบจังหวัด สำเนียงคิวชูจะมีเสียงสูงต่ำที่เป็นเอกลักษณ์ และคำศัพท์ก็พิเศษด้วย คำกริยาก็ต่างจากภาษากลางมาก เช่น การเก็บอะไรซักอย่าง จะใช้คำว่า "นาโอซุ" ส่วนภาษากลางจะใช้คำว่า "ชิมาอุ" เหมือนกับทุกๆพื้นที่ อิทธิพลของสื่อทำให้ภาษาถิ่นค่อยๆสูญหายไป ทำให้เกิดเด็กรุ่นที่ไม่เข้าใจภาษาถิ่นที่ผู้มีอายุพูด จึงทำให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ให้ภาษาถิ่นคงอยู่ต่อไป ภาษาถิ่นยังมีการแสดงอารมณ์หรือสภาพที่ภาษากลางไม่สามารถแสดงได้ได้ด้วย เหมือนที่ภาษากลางไม่สามารถแปลความหมายจากคำของภาษาต่างประเทศบางคำได้ ฉะนั้นจะเรียกภาษาถิ่นว่าเป็นอีกภาษาหนึ่งก็ได้ ในคิวชูก็มีนักเรียนต่างชาติมาเรียนภาษาญี่ปุ่นมากมาย ในนั้นก็มีนักเรียนที่เรียนที่โรงเรียนภาษาญี่ปุ่นแล้วเข้าสอบมหาวิทยาลัยด้วย อาจมีคนพูดว่าการเรียนภาษาญี่ปุ่นที่คิวชูซึ่งมีภาษาถิ่น ถือเป็นความเสียเปรียบ คำตอบก็คือ "ไม่เห็นจะเป็นอะไร" เหตุผลคือการเรียนที่โรงเรียนภาษาญี่ปุ่น เรียนด้วยภาษากลางอยู่แล้ว การออกเสียงก็ใช้ภาษากลาง แล้วที่โรงเรียนก็น่าจะมีโอกาสได้สื่อสารกับคนในท้องถิ่นด้วย ที่จริงแล้วคนแทบทั้งหมดเวลาคุยกับนักเรียนต่างชาติจะใช้ภาษากลางหรือภาษาญี่ปุ่นที่เข้าใจง่ายอยู่แล้วจึงไม่มีปัญหาอะไร ในทางกลับกัน นอกจากภาษากลางแล้วหากยังสามารถพูดคำของคิวชูได้ด้วย จะถือว่ามีค่ายิ่ง และในการเรียนภาษาญี่ปุ่น การเรียนจากการฟังเสียงอ่านที่ถูกอัดเสียงไว้ถือว่ามีประสิทธิภาพมาก โดยสื่อการเรียนรูปแบบดังกล่าวก็จะเป็นภาษากลางแน่นอน ไม่ว่าจะภาษาไหนในโลก แต่ละท้องถิ่นย่อมมีภาษาถิ่นอยู่ ภาษาอังกฤษก็เช่นกัน เป็นที่ทราบกันดีว่าอเมริกากับอังกฤษมีการออกเสียงที่แตกต่างกันอย่างมาก นอกจากนี้ ในอินเดียหรือแอฟริกาใต้ ภาษาอังกฤษของท้องถิ่นซึ่งเป็นภาษาทางการ ก็แตกต่างจากภาษาอังกฤษที่เรียนในโรงเรียนเป็นอย่างมาก ผู้ที่พูดโดยออกเสียงให้เข้าใจง่ายเหมือนฟังจากเทป อาจจะมีน้อยมาก แต่หากมีความสามารถในการฟังภาษากลางได้ ก็จะสามารถปรับและฟังภาษาถิ่นให้เข้าใจได้ได้ด้วย ดังนั้น หากพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นแข็งแรงดี ก็สามารถสรุปได้ว่าสามารถเข้าใจภาษาถิ่นส่วนใหญ่ได้ด้วย